หลักสูตร การจัดทำฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
                  สารเคมีตามระบบสากล GHS

รุ่นที่ 4   วันที่ 24 – 25 มีนาคม 2568

ระยะเวลาการฝึกอบรม 2 วัน

รูปแบบการจัด : ออนไลน์ (MS Teams)

ค่าลงทะเบียน 3,200 บาท
(ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการจัดอบรม 14 วัน ลดเหลือ 3,000 บาท)

การชำระค่าลงทะเบียน : โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย
สาขาเมืองทองธานี ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เลขที่บัญชี 147-0-24140-4
พร้อมส่งสำเนาใบโอนเงิน และใบสมัครเข้ารับการอบรมทาง
e-mail : [email protected] หรือทาง LINE ID : 08 7100 1800

**ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัด
ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และไม่ถือเป็นวันลา

1. ความเป็นมาและความสำคัญของระบบสากล GHS : ตามสมุดปกม่วง (Purple Book)
GHS 2019
2. หลักการและเกณฑ์การจำแนกประเภทสารเคมี
  – ความเป็นอันตรายทางกายภาพ (Physical Hazards)
  – ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Health Hazards)
  – ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Environment Hazards)
3. การสื่อความเป็นอันตราย : ฉลากและเอกสารข้อมูล ความปลอดภัย
4. การฝึกปฏิบัติการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบสากล GHS โดยใช้
แอปพลิเคชั่น
5. การฝึกปฏิบัติการจัดทำฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีตามระบบสากล GHS โดยใช้แอปพลิเคชั่น

1. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน

2. ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า

3. ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีเวลาเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร จะได้รับหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ ดร.ศริศักดิ์  สุนทรไชย

อดีตรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มีความเชี่ยวชาญด้านระบบสากล GHS
โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร GHS Instructors Practical Course ซึ่งจัดโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น และจัดโดย JETRO  กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งปรเทศไทย

อีกทั้งมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสากล GHS โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มากมาย เช่น โครงการพัฒนามาตรฐานการจัดทำฉลากเคมีภัณฑ์ตามระบบสากล ปี 2551 ส่วนที่ 2 : ฉลากผลิตภัณฑ์สารระเหย และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่ใช้สารขับดัน , โครงการพัฒนาฉลากเคมีภัณฑ์วัตถุอันตราย : การจัดกลุ่มความเป็นอันตรายตามระบบ GHS สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดประเภทผลิตภัณฑ์ชุมชน, โครงการพัฒนาเครื่องมือกระบวนการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาอุดมศึกษา เรื่องระบบสากล GHS และความปลอดภัยด้านสารเคมี