รายวิชา การฝึกอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงออนไลน์

จำนวนหน่วยกิต : 2 หน่วยกิต (30 ชั่วโมงการเรียนรู้)

รูปแบบการเรียน : เรียนออนไลน์

ค่าลงทะเบียน : 2,000 บาท

ระยะเวลาเรียน : 8 สัปดาห์

รุ่นที่ 7 วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2567

การชำระค่าลงทะเบียน :
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี
ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เลขที่บัญชี 147-0-24140-4

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : Line @978kfugc

**ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัด ได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และไม่ถือเป็นวันลา

หน่วยการเรียนที่ 1 การศึกษาพยาบาลในระบบการสอนทางไกล
     แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระบบการศึกษาทางไกล

  1. ระบบการศึกษาทางไกล
  2. การศึกษาแบบผู้ใหญ่ (Adult learning) : กำหนดรูปแบบและแผนการเรียนรู้ของตนเอง
    (Self-directing design) กำหนดรูปแบบและแผนการเรียนรู้โดยมหาวิทยาลัย
    (University design)
  3. ทฤษฎีการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้
  4. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564
  5. การจัดการศึกษาภาคปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกล

หน่วยการเรียนที่ 2 กระบวนการพยาบาลการบันทึกและแผนการพยาบาล
     แนวคิดเกี่ยวกับระบบสุขภาพในปัจจุบัน การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขภาพ การจัดทำแผนการพยาบาล การบันทึกทางการพยาบาล

หน่วยการเรียนที่ 3 บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง
     บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง (Preceptor) ในระบบการศึกษาทางไกล การ Coaching การให้คำปรึกษา (Counseling) การให้กำลังใจนักศึกษา

หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีการเรียนการสอนในคลีนิค
     วิธีการเรียนการสอนในคลินิก อาทิ การมอบหมายงาน (Assignment) การสอนข้างเตียง (Bed side education) การประชุมปรึกษาทางคลินิก (Nursing Conference) การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล (Nursing round) การวิเคราะห์การสอนในคลินิกเพื่อพัฒนากระบวนการคิดและวิเคราะห์ และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการพยาบาลกับการเรียนการสอน (Evidence Base Nursing; EBN)

หน่วยการเรียนที่ 5 การวางแผนการสอนทางคลีนิค
     การวางแผนการนิเทศทางคลินิก การเขียนแผนการสอน การนำแผนการสอนไปใช้ในคลินิก

หน่วยการเรียนที่ 6 การประเมินผลการฝึกปฏิบัติการพยาบาล
     การประเมินผลการเรียนรู้ของการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในระบบการศึกษาทางไกล (Clinical performance evaluation)

  1. หลักการประเมินผลการเรียนรู้ในคลินิก (Formative evaluation & Summative evaluation)
  2. เกณฑ์การประเมินผลทางคลินิก
  3. การนำผลการประเมินป้อนกลับเพื่อการพัฒนา

พยาบาลวิชาชีพที่ประสงค์เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงของสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่สนใจ

  • ได้รับสมรรถนะบัตร จาก มสธ. 
  • สามารถเก็บสะสมหน่วยกิตในระบบคลังหน่วยกิตของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ พรจันทร์  สุวรรณชาต
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.อารี  ชีวเกษมสุข
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมฤทัย  น้อยหมื่นไวย
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ต.หญิง ดร.นภาเพ็ญ  จันทขัมมา
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธีพร  มูลศาสตร์
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

 

รองศาสตราจารย์ ดร.วาริณี  เอี่ยมสวัสดิกุล
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

ฝ่ายพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการฝึกอบรม  สำนักการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช